สวนป่าปลูกสบายดี wearehappy

สวนป่าปลูกสบายดี wearehappy พื้นที่เรียนรู้เพื่ออยู่สุข

04/09/2024
แสงเงินแสงทองยามเช้า@บ้านสวน  อังคาร๑๓สิงหาคม๒๕๖๗(2024)65/1
12/08/2024

แสงเงินแสงทองยามเช้า@บ้านสวน
อังคาร๑๓สิงหาคม๒๕๖๗
(2024)
65/1

ในหนึ่งวันแดด&ฝน.......จ.12สค.256765/1
12/08/2024

ในหนึ่งวัน
แดด&ฝน.......
จ.12สค.2567
65/1

12/08/2024
"เก็บไว้"...... ผกากรอง สีสันสดใสขึ้นเองตามธรรมชาติ
12/08/2024

"เก็บไว้"......
ผกากรอง สีสันสดใส
ขึ้นเองตามธรรมชาติ

ต้นแก้วเกิดและเติบโตเอง@สวนป่าปลูกสบายดีwearehappy.ได้เวลาส่งกลิ่นหอม
10/08/2024

ต้นแก้วเกิดและเติบโตเอง@สวนป่าปลูกสบายดีwearehappy.ได้เวลาส่งกลิ่นหอม

"บูลซัลเวีย" อีกหนึ่งสีสันในสวนฯกค.๒๕๖๗(2024)๖๔/๑๑
25/07/2024

"บูลซัลเวีย" อีกหนึ่งสีสันในสวนฯ
กค.๒๕๖๗(2024)
๖๔/๑๑

"ดายหญ้า"งานสามัญประจำสวน
18/07/2024

"ดายหญ้า"
งานสามัญประจำสวน

โพล้เพล้@บ้านสวนพุธที่๓กรกฎาคม๒๕๖๗64/114/10
03/07/2024

โพล้เพล้@บ้านสวน
พุธที่๓กรกฎาคม๒๕๖๗
64/11
4/10

ป่าหอมกรุ่น... กลิ่นประดู่ลม... หน้าแล้งพัดกลิ่นหอม.. หอม.. มาบอกกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล...... สงกรานต์67เสาร์ที...
13/04/2024

ป่าหอมกรุ่น... กลิ่นประดู่
ลม... หน้าแล้ง
พัดกลิ่นหอม.. หอม..
มาบอกกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล......
สงกรานต์67
เสาร์ที่13เมษายน2567

เสาร์ที่6มกราคม256764/84/10
06/04/2024

เสาร์ที่6มกราคม2567
64/8
4/10

26/03/2024

🌻สวนประสาทสัมผัส (Sensory Garden) กับสุขภาวะของ “ทุกคน”
📌โดย:รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา
อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

สวนประสาทสัมผัส หรือ “Sensory Garden” เป็นสวนบำบัดประเภทหนึ่งที่เน้นความหลากหลายของชนิดพืชพรรณไม้และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์ของน้ำ และการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ภายในสวนให้เชื่อมโยงมนุษย์กับธรรมชาติ มีบริเวณที่ให้ความรู้สึกเงียบสงบผ่อนคลาย และมีบริเวณที่กระตุ้นความรู้สึกตื่นตัว มีการใช้สี/แสงเงา และมีบริเวณพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน (Krzeptowska-Moszkowicz et al., 2021) โดยผู้ใช้สวนจะได้รับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่เต็มที่และหลายหลาย ทั้งการมองเห็น (visual), การได้ยิน (auditory), การได้กลิ่น (olfactory), การรับรส (gustatory), การสัมผัส (tactile), การรักษาสมดุลการทรงตัว (vestibular), และการรับรู้อากัปกริยาร่างกายและพื้นที่ขณะเคลื่อนไหว (proprioception) ซึ่งการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 7 ด้านนี้ มีความเชื่อมโยงกับระบบการรับรู้ประมวลผล (sensory processing) ที่สัมพันธ์กับความสามารถของร่างกายและสมองในการจัดระเบียบความรู้สึก การแสดงออกทางอารมณ์ พฤติกรรม รวมถึงการเข้าใจผู้อื่น นำไปสู่การบูรณาการระบบประสาทรับรู้ความรู้สึก (sensory integration) ซึ่งเมื่อระบบการรับรู้ความรู้สึกดีขึ้นย่อมส่งผลให้กระบวนการฟื้นฟูสภาพจิตใจดีขึ้นตามมา นำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี (well-being) แบบองค์รวมของผู้ใช้สวน ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ปัญญา และสังคม

แนวคิด Sensory Garden พัฒนามาจากประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ซึ่งช่วงแรกจะเน้นการออกแบบเพื่อคนพิการทางการมองเห็น (garden for the blind) มักใช้เชิงสัญลักษณ์กลยุทธ์ Inclusion ของภาครัฐ เน้นองค์ประกอบพันธุ์ไม้กลิ่นหอม ใบมีผิวสัมผัส มีการใช้อักษรเบรลล์และเบรลล์บล็อก (Hussein, 2011) แต่เมื่อเวลาผ่านไป วัตถุประสงค์การใช้งาน Sensory Garden มีการขยายเพิ่มขึ้น ครอบคลุมการฟื้นฟูรักษาผู้ป่วย โดยเฉพาะการฟื้นฟูความทรงจำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) และใช้เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็กพิการหรือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเฉพาะเด็กที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท (neurodivergent) ซึ่งมักมีการรับรู้ความรู้สึกที่ไว/ช้าต่อสิ่งเร้า (hyper/hypo-sensitivity) อาทิเช่น ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม โรคสมาธิสั้นหรือมีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น (Hussein, 2009, 2011; Wagenfeld et al., 2019)

ปัจจุบัน แนวคิดการออกแบบ Sensory Garden มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก โดยมุ่งเน้นที่การบูรณาการ (integration) แทนที่จะเป็นการแบ่งแยก (segregation) คนพิการกับสังคม และให้ความสำคัญต่อการออกแบบในรูปแบบ Inclusive Design ที่ให้ “ทุกคน” สามารถเข้าถึงการใช้งานสวน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ภายในสวนได้อย่างเท่าเทียมและมีความสุข ผ่านการเลือกใช้ “วิธีการ” (methods) ที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น กรณีคนพิการทางการมองเห็นอาจใช้เทคนิค Sighted Guide ให้คนตาดีนำทางการมองเห็นไปตามพื้นที่และกิจกรรมต่างๆ และใช้การบรรยายเป็นเสียงอธิบายรายละเอียดสำคัญของพื้นที่และกิจกรรม รวมถึงเน้นการสัมผัสพื้นผิวที่แตกต่าง; คนพิการทางการได้ยิน ให้วางตำแหน่งวิทยากรให้ใกล้พวกเขา เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าใจสิ่งที่วิทยากรต้องการสื่อสาร เน้นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นและให้ลองปฏิบัติตาม อาจกำหนดสัญญาณเพื่อใช้สื่อสารหากพวกเขาไม่เข้าใจหรือต้องการความช่วยเหลือ; คนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว อาจใช้การวางตำแหน่งและใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น หากพวกเขาไม่สามารถควบคุมการขยับมือตามรูปแบบที่กำหนดได้ อาจใช้ตราประทับเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะโดยใช้การเคลื่อนที่ของมือแบบง่าย; และกรณีคนที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท (neurodivergent) ให้อธิบายและทำกิจกรรมเป็นขั้นตอน เป็นระเบียบ ต่อเนื่องกัน อาจใช้รูปภาพเพื่ออธิบายสิ่งของหรือการกระทำที่กำลังพูดถึง และให้เน้นเป็นพิเศษกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านกิจกรรม โดยอาจให้มีกิจกรรมที่สร้างสมาธิและให้เกิดความสงบ ก่อนเริ่มกิจกรรมใหม่ที่เน้นความสนุกสนาน ในกลุ่ม Hypersensitivity ซึ่งจะไม่ชอบการให้มือหรือร่างกายสัมผัสสีโดยตรง อาจใช้ถุงมือหรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ช่วยในการทำกิจกรรมศิลปะ ในขณะที่กลุ่ม Hyposensitivity อาจเลือกกิจกรรมที่เน้นกลิ่นหอม เน้นพื้นผิวสัมผัสที่แตกต่าง ใช้การทาสีด้วยนิ้วแทนการใช้แปรงเพื่อให้นิ้วสัมผัสถึงความเย็นและการเคลื่อนไหวโดยตรง เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อให้ Sensory Garden และกิจกรรมต่างๆ ภายในสวน สามารถสร้างคุณค่าเชิงสุขภาวะอย่างแท้จริง ให้กับ “ทุกคน” ในสังคม จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐานสำคัญ ได้แก่: 1. เน้น Process ผ่านวิธีการ (methods) ที่เหมาะสมในการสร้างประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสอย่างเต็มที่ โดย Methods ที่ใช้ต้องขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมในกิจกรรม; 2. เน้นการสนับสนุน (support) ปรับเปลี่ยน (adaptation) และยืดหยุ่น (flexibility) เพื่อให้ผู้ใช้สวนที่มีความแตกต่างหลากหลาย สามารถเข้าถึง มีส่วนร่วม และรู้สึกถึงความสำเร็จ (achievement) ในการทำกิจกรรมได้; และ 3. เน้นการสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง หรือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการถูกแบ่งแยก เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม

References
- Hussein, H. (2009), ‘Sensory garden in special schools: The issues, design and use’, Journal of Design and Built Environment, 5, 77-95.
- Hussein, H. (2011), ‘The influence of sensory gardens on the behaviour of children with special educational needs’, Asian Journal of Environment Behaviour Studies, 2 (4), 77-93.
- Krzeptowska-Moszkowicz, I., Moszkowicz, L., & Porada, K. (2021), ‘Evolution of the concept of sensory gardens in the generally accessible space of a large city: Analysis of multiple cases from Kraków (Poland) using the therapeutic space attribute rating method’, Sustainability, 13, 5904, https://doi.org/10.3390/su13115904
- Wagenfeld, A., Sotelo, M., & Kamp, D. (2019), ‘Designing an impactful sensory garden for children and youth with Autism Spectrum Disorder’, Children, Youth and Environments, 29(1), 137-152.

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2706175
24/12/2023

https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2706175

การอยู่อาศัยของคนหนึ่งไม่ได้คงอยู่ตายตัว แต่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะประเด็นผู้สูงอายุต้องย้....

"น่าเอ็นดู"เห็นตาแป๋วๆแล้วโกธรไม่ลงที่กินใบไม้ซะโกร๋น จะว่าไปก็เป็นครั้งแรกที่เห็นหนอนเขียวแบบอย่างใกล้จนเห็นแววตากันเลย...
24/12/2023

"น่าเอ็นดู"
เห็นตาแป๋วๆแล้วโกธรไม่ลงที่กินใบไม้ซะโกร๋น
จะว่าไปก็เป็นครั้งแรกที่เห็นหนอนเขียวแบบอย่างใกล้จนเห็นแววตากันเลยทีเดียว

อา.10ธค.66ปลูกกล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
12/12/2023

อา.10ธค.66
ปลูกกล้วยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สูงวัยในถิ่นเดิมเป็นไปได้อย่างไร
12/12/2023

สูงวัยในถิ่นเดิมเป็นไปได้อย่างไร

เช้าวันอาทิตย์ที่10ธันวาคม6664/4
11/12/2023

เช้าวันอาทิตย์ที่10ธันวาคม66
64/4

"คิดจะทำ  ต้องลงมือทำ"     เมื่อตัดสินใจลงมือขุดแยกหน่อกล้วยน้ำว้าด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกหลังจากวนเวียนคิดแล้วล้มเบิกมาหล...
03/12/2023

"คิดจะทำ ต้องลงมือทำ"
เมื่อตัดสินใจลงมือขุดแยกหน่อกล้วยน้ำว้าด้วยตัวเองเป็นครั้งแรกหลังจากวนเวียนคิดแล้วล้มเบิกมาหลายครั้งเพราะคิดว่าน่าจะเกินกำลัง
แต่เมื่อลงมือทำแล้วก็พบว่าก็ทำได้เพียงแต่อาจจะใข้เวลาสักหน่อย
สิบคำบอกไม่เท่าหนึ่งลงมือทำจริงๆ"
เสาร์ที่3ธันวาคม2566

จ้าแดด&ฉ่ำลม
25/11/2023

จ้าแดด&ฉ่ำลม

ศุกร์ที่๑๗พย.๒๕๖๖(2023)
17/11/2023

ศุกร์ที่๑๗พย.๒๕๖๖(2023)

 #งามง่ายง่ายถึงเวลาอีกหนึ่งหนาวตามประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ............พุธที่16พย.66(2023)
15/11/2023

#งามง่ายง่าย
ถึงเวลาอีกหนึ่งหนาวตามประกาศการเข้าสู่ฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ............
พุธที่16พย.66(2023)

แสงจันทร์หลังออกพรรษาอังคาร๓๑ตุลาคม๒๕๖๖
31/10/2023

แสงจันทร์หลังออกพรรษา
อังคาร๓๑ตุลาคม๒๕๖๖

 #เล่าจากสวน    เมื่ิอก่อนเวลาพูดถึงการอยู่สวน  ภาพที่แสนจะโรแมนติคปรากฏขึ้นมาทันใด    " ต้นไม้ร่มรื่น  ยามลมโชยมาจะมีกล...
31/10/2023

#เล่าจากสวน
เมื่ิอก่อนเวลาพูดถึงการอยู่สวน ภาพที่แสนจะโรแมนติคปรากฏขึ้นมาทันใด
" ต้นไม้ร่มรื่น ยามลมโชยมาจะมีกลิ่นหอมอ่อนละมุนละไมของมวลไม้พันธ์ุไทยสีขาว บรรยากาศรอบตัวสงัด สงบให้เป็นสุขดื่มด่ำ"
ความจริงหาเป็นอย่างนั้นไม่
"ต้นไม้ร่มรื่นยามที่พระพิรุณเกรี้ยวโกรธน่ากลัวเหลือเกินหลายๆครั้งที่ฝนตก ไฟฟ้าดับ เน็ตล่ม
ยามลมโชยมานำกลิ่นไม่พึงประสงค์มาให้ได้สูดดมไม่ขาดสายบ้างกลิ่นมูลสัตว์ บ้างกลิ่นปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงก็ไม่แจ้งใจทั้งบางทียังมีกลิ่นยาสูบแถมมาอีกพอเป็น
กระสายจากผู้มาพักพิงใต้ร่มไม้ใกล้ๆสวนของเรา
ความมืดและเงียบสงบก็อีกที่นำมาซึ่งความกลัว ความกังวลถึงภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งสิ่งลี้ลับที่เรียงหน้ามาให้ย้อนรำลึกถึงไม่หยุดหย่อน
คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก
การปรับตัวคงจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นกว่านี้ที่"บ้านสวน"

จันทร์ที่๓๐ตุลาคม๒๕๖๖
๖๔/๒

ที่อยู่

หมู่บ้านสวนเอก หมู่13 ถ. รพช. วัดยอดพระพิมล ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน นครปฐม
Bang Len
73130

เบอร์โทรศัพท์

+66860549252

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สวนป่าปลูกสบายดี wearehappyผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สวนป่าปลูกสบายดี wearehappy:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


Bang Len บริการวางแผนกิจกรรมอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ