02/03/2025
ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2504 อาจารย์ทวีได้พบกับชาวบ้านด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีอาชีพปั้นหม้อ ปั้นไหปลาร้า ปั้นครก ปั้นโอ่ง และเกิดความประทับใจกับงานของช่างพื้นบ้านที่นั่น จึงเข้าไปช่วยในการออกแบบให้มีรูปทรงที่แตกต่างออกไป เช่น ปั้นรูปนกฮูก นกยูง ไก่ ปลา ซึ่งทำให้ชาวบ้านขายเครื่องปั้นดินเผาได้ราคาที่มากกว่าเดิม และมอบหมายให้ลูกศิษย์ช่วยกันพัฒนาออกแบบรูปทรงต่างๆ เปลี่ยนแปลงฟังก์ชั่นเดิมๆ ให้มีประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลายมากขึ้น
อาจารย์ทวีบอกว่าดินด่านเกวียนเป็นเนื้อดินเหนียวริมแม่น้ำมูล ที่มีแร่เหล็กปะปนอยู่สูง ถ้าเผาไฟอ่อนสีจะมีสีส้มสวยกว่าที่อื่น แต่ถ้าเผาด้วยอุณหภูมิสูงจะมีความมันวาวสีดำเหมือนงานเผาเคลือบสี ซึ่งมีเอกลักษณ์กว่าที่อื่น
เมื่อครั้งที่อาจารย์ทวี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้พากลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรไปวาดรูปนอกสถานที่ ที่เกาะเกร็ด นนทบุรี และท่านศาสตราจารย์ศิลป์ได้เห็นชาวบ้านเกาะเกร็ดปั้นหม้อดิน จึงให้นักศึกษาช่วยกันออกแบบแจกันรูปทรงแปลกๆ โดยนำความรู้ทางศิลปะและการออกแบบไปช่วยพัฒนาเพื่อช่วยเพิ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้งานศิลปะหัตถกรรมมีมูลค่ามากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ อาจารย์ทวีจึงเกิดแนวคิดต่อมาที่จะส่งเสริมและพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ในวัยย่างเข้า 91 ปีของอาจารย์ทวี รัชนีกร ท่านได้สร้างผลงานประติมากรรมดินด่านเกวียนอีกครั้ง และถ่ายทอดความเป็นศิลปะในรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของท่านในประติมากรรมดินด่านเกวียน 2568 ครั้งนี้
นิทรรศการประติมากรรมดินด่านเกวียน 2568 โดย อาจารย์ทวี รัชนีกร จะจัดแสดง ณ หอศิลป์ อาคาร 3 โดยมีพิธีเปิดงานในวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 9.00 น. และหลังจากพิธีเปิดงาน จะมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผา อบรมโดยกลุ่มโรงปั้นอ.เดช นานกลาง ศิลปินมรดกอีสาน ในช่วงเวลา 11.00 - 16.30 น. เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะวิชาชีพเครื่องปั้นดินเผาในการสร้างสรรค์ผลงานให้แก่เด็กและเยาวชนรุ่นหลังต่อไป
ทุกท่านสามารถเข้าชมนิทรรศการนี้ในวันพิธีเปิด พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฎิบัติการดังกล่าวได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เรียนเชิญนะคะ
นิทรรศการครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
Back in 1961, Ajarn Tawee visited the village of Dan Kwian in Chokchai District, Nakhon Ratchasima, where the locals had long been crafting pottery —making clay pots, fermenting jars, mortars, and water jars. He was deeply impressed by their traditional craftsmanship and decided to help them refine their designs, introducing new forms such as owls, peacocks, chickens, and fish, and therefore increasing their market value. He later assigned his students to continue developing new designs, transforming traditional forms into more functional pieces.
Ajarn Tawee shared that Dan Kwian clay is rich in iron deposits due to its origin along the banks of the Mun River. When fired at a low temperature, it takes on a beautiful, orange hue, more striking than other types of clay. At higher temperatures, it develops a glossy black finish, which sets it apart from pottery elsewhere.
When he was a student at Silpakorn University, Ajarn had the opportunity to accompany Professor Silpa Bhirasri on a field trip to Koh Kret, Nonthaburi. There, they observed local artisans crafting clay pots. Professor Silpa encouraged the students to contribute by designing unique vase shapes, blending artistic principles with traditional craftsmanship. This initiative aimed to enhance the cultural and economic value of local pottery while preserving the heritage of Thai handicrafts. Inspired by this experience, Ajarn Tawee later applied the same approach to the development of Dan Kwian pottery.
Now, as he faces the age of 91, Ajarn Tawee is once again creating Dan Kwian clay sculptures, and expressing his unique style in his Dan Kwian Clay Sculpture Exhibition 2025.
The exhibition will be held at Tawee Art Gallery number 3, with an opening ceremony on Friday, March 7, 2025, 9:00 AM. Following the opening ceremony, there will be a hands-on workshop on ceramic craftsmanship from 11:00 AM to 4:30 PM, led by Ajarn Dech Nanklang, a recognized Esan Heritage Artist. This workshop is designed to pass on the artistry and technical skills of pottery-making to younger generations.
Visitors are warmly invited to attend the opening event and participate in the workshop free of charge.
This exhibition is supported by the Cultural Promotion Fund, Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture.